พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระสมเด็จปิลันท...
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ปรกโพธิ์เล็กซุ้มครอบแก้ว
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม ชื่อเต็มว่า "พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์" เป็นพระเนื้อผงใบลานเผา ส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ สร้างโดย หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีวงศ์) ศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และนับเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง)ใน กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อปี พ.ศ.2364 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2385 จำพรรษา ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ต่อมาปี พ.ศ.2413 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งชราภาพแล้ว หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีวงศ์) มรณภาพในปี พ.ศ.2443
การสร้าง พระสมเด็จพระปิลันทน์ นั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2407 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์มวลสารจากพระอาจารย์ ดังนั้นลักษณะที่เป็นเนื้อผงใบลานจึงสืบทอดตำราของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ไว้ด้วย จะสังเกตได้จากเนื้อผงสีขาวภายใน นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์ เรียกได้ว่าเป็นพระสำคัญฝั่งธนบุรี คนเก่าแก่มักเรียกว่า ‘พระเครื่องสองสมเด็จ’ เนื่องจากต่อมาท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เช่นกัน


พระสมเด็จปิลันทน์ มีการเปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2471 เนื่องจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ
พระสมเด็จปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมค คัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ ‘พระชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง’ อีกด้วย
ผู้เข้าชม
6051 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Kshopnattapolmon37chaokohมัญจาคีรี udeknarin
chaithawatSontayahrสรณะพระเครื่องอาร์ตกำแพงเพชรหมี คุณพระช่วยvanglanna
BAINGERNเทพจิระjochoเจริญสุขนะโม พระเครื่องtermboon
poop2015เปียโนนรินทร์นำเเสงโกหมูศิษย์บูรพาLeksoi8
หนึ่ง ทุ่งสงน้ำตาลแดงด้วง เกิดผลพีพีพระเครื่องแมวดำ99boonyakiat

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1213 คน

เพิ่มข้อมูล

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ปรกโพธิ์เล็กซุ้มครอบแก้ว



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ปรกโพธิ์เล็กซุ้มครอบแก้ว
รายละเอียด
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม ชื่อเต็มว่า "พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์" เป็นพระเนื้อผงใบลานเผา ส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ สร้างโดย หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีวงศ์) ศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และนับเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง)ใน กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อปี พ.ศ.2364 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2385 จำพรรษา ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ต่อมาปี พ.ศ.2413 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งชราภาพแล้ว หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีวงศ์) มรณภาพในปี พ.ศ.2443
การสร้าง พระสมเด็จพระปิลันทน์ นั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2407 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์มวลสารจากพระอาจารย์ ดังนั้นลักษณะที่เป็นเนื้อผงใบลานจึงสืบทอดตำราของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ไว้ด้วย จะสังเกตได้จากเนื้อผงสีขาวภายใน นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์ เรียกได้ว่าเป็นพระสำคัญฝั่งธนบุรี คนเก่าแก่มักเรียกว่า ‘พระเครื่องสองสมเด็จ’ เนื่องจากต่อมาท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เช่นกัน


พระสมเด็จปิลันทน์ มีการเปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2471 เนื่องจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ
พระสมเด็จปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมค คัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ ‘พระชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง’ อีกด้วย
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
6144 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี